RID TAK KM CENTER

ศูนย์ความรู้กลาง โครงการชลประทานตาก สำนักงานชลประทานที่ 4 กรมชลประทาน

"กรมชลประทานมุ่งจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้" องค์ประกอบสำคัญของ KM มี 3 ส่วน ได้แก่ คน เทคโนโลยี และ กระบวนการจัดการความรู้ KM เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้องค์กรก้าวหน้า โดยดำเนินการตามนโยบาย RID TEAM ในการขับเคลื่อนภารกิจงานชลประทานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ "กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการภายใน ปี 2580"

นายฐนันดร์ สุทธิพิศาล
ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4


นวัตกรรม ฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทราย

Clay Core Weir Beneath Sandbed

ฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทราย

ฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทรายเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอและกักเก็บน้ำให้ขังใต้พื้นทรายในลำห้วยหรือคลองธรรมชาติที่มีชั้นทรายลึกและชั้นใต้ลงไปเป็นชั้นดินดานหรือชั้นหิน เหมาะกับสภาพภูมิประเทศที่มีปัญหาไม่มีน้ำไหลในช่วงฤดูแล้ง สภาพพื้นที่ไม่สามารถพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำหรือวิธีอื่นๆ ได้ สามารถก่อสร้างด้วยวิธีการง่ายๆ และประหยัด วัสดุที่ใช้คือดินเหนียวและหินใหญ่ โดยอาศัยแรงงานของราษฎรเป็นหลัก

นวัตกรรมฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทราย มุ่งหวังที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำคลองแม่ระกา ตำบลโป่งแดง อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดยผสมผสานระหว่างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน โดยการก่อสร้างฝายแกนดินเหนียวกั้นขวางลำน้ำใต้พื้นทราย ตามความลาดเทของคลองเป็นช่วงๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายพัฒนาการทำงาน จากแนวคิดเดิมๆ ในการกักเก็บน้ำบนผิวดิน ไปสู่การคิดนอกกรอบ(Lateral Thinking) โดยการกักเก็บน้ำใต้ทราย จากสภาพของลำห้วยที่มีชั้นทรายลึก ใต้ลงไปเป็นหินแข็งเป็นพืด กลับเป็นจุดแข็งที่ช่วยในกักเก็บน้ำ ทรายในลำคลองแม่ระกาทำหน้าที่ปกป้องมิให้สูญเสียน้ำจากการระเหย และจากภูมิปัญญาการใช้น้ำของชุมชนในอดีตที่ขุดลงไปในคลองแม่ระกา ฝั่งวงบ่อซีเมนต์ปิดฝาต่อท่อสูบน้ำใต้พื้นทรายในลำคลองไปใช้ในบ้าน จึงเป็นที่มาของแนวคิดการกักเก็บน้ำที่ไหลซึมใต้พื้นทราย ให้น้ำขังอยู่ในคลองได้นานที่สุดก่อนจะสิ้นสุดฤดูแล้ง

2566 - เผยแพร่

ประโยชน์ของฝายแกนดินเหนียวใต้ผืนทราย

Benefits of clay core dams under the sand

ช่วยเก็บกักและชะลอน้ำใต้ดินชั้นบนที่ขังอยู่ใต้พื้นทราย สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นดินบริเวณรอบข้าง สามารถนำน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร อุปโภคบริโภค การเลี้ยงสัตว์ในหมู่บ้านเมื่อเกิดปัญหาภัยแล้ง ช่วยรักษาและเพิ่มระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้น บ่อน้ำตื้นของราษฎรบริเวณข้างเคียงให้มีน้ำใช้นานขึ้น ช่วยฟื้นฟูสภาพป่าให้เกิดความชุ่มชื้น คืนความสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติแวดล้อม

นวัตกรรมฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทรายเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำควบคู่กับการอนุรักษ์ธรรมชาติ เข้ากันได้กับสิ่งที่มีอยู่เดิม สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนในอดีต ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดงบประมาณ สามารถขยายผลไปในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกันได้ ราษฎรสามารถดำเนินการเองได้และบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชนได้ด้วยตนเอง เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เกิดความสามัคคี เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ชุมชนเกิดทักษะในการนำองค์ความรู้ไปขยายผลในที่อื่นๆ สอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ อย่างแท้จริง

2566 - เผยแพร่

วิดีทัศน์ฝายแกนดินเหนียวใต้พื้นทราย

Youtube Video Clip By Dusit Sangsukon
รางวัลคุณภาพ

- การจัดการความรู้ กรมชลประทาน [RID Innovation Award 2009]
- บริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2556 [Thailand Public Service Awards 2013]

2562 - ปัจจุบัน

การขยายผล

(1) ก่อสร้างโครงการฝายใต้ทราย(แกนดินเหนียว) โครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 71 แห่ง ในพื้นที่ 66 หมู่บ้าน 10 ตำบล งบประมาณ 6,581,860 บาท
(2) ก่อสร้างฝายใต้ทราย(แกนดินเหนียว) ตามโครงการพัฒนาจังหวัดตาก ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 176 แห่ง ในพื้นที่ 43 หมู่บ้าน 9 ตำบล งบประมาณ 6,163,200 บาท
(3) ก่อสร้างฝายใต้(ทรายแกนดินเหนียว) โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) โดยใช้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจาก ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ. ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 282 แห่ง ในพื้นที่ 36 หมู่บ้าน 10 ตำบล งบประมาณ 10,499,700 บาท
ฯลฯ

2566 - เผยแพร่


คณะทำงาน

Working Group

นายมาโนช ตุ้มทอง
ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตาก

นายอาทิว ทุ่งเจ็ด
นายช่างชลประทานอาวุโส
หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม

นายศตวรรษ ตาแสงวงษ์
เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์
พนักงานราชการ

นายขวัญชัย ทองคำ
นักจัดการงานทั่วไป
ลูกจ้างชั่วคราว